แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 เพียงไม่กี่ปีต่อมาก็ได้พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 หากย้อนกลับไปในอดีตพบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นใหม่บ่อยมาก บริษัทผู้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ได้คิดค้นและพัฒนาให้ขีดความสามารถเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในปี พ.ศ. 2545 ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นเพนเทียมโฟร์ของบริษัทอินเทล และรุ่นเอธรอนของบริษัทเอเอ็มดี ทำงานได้ด้วยความเร็วกว่า 2,000 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้น มีผลทำให้พัฒนาการทางซอฟต์แวร์ก้าวหน้าไปจากเดิมมาก

ขณะเดียวกันความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาขึ้น ในปี พ.ศ 2524 มีหน่วยความจำเพียง 64 กิโลไบต์ แต่ปัจจุบันแนวโน้มของหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์เป็นหลายร้อยเมกะไบต์จนมีแนวโน้มถึงกิกะไบต์ในไม่ช้านี้
แนวโน้มความจุของฮาร์ดดิสก์

ความจุของฮาร์ดดิสก์ก็เช่นเดียวกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นแรกที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปมีฮาร์ดดิสก์หลายสิบกิกะไบต์ นั่นหมายความว่า ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มขึ้นหลายพันเท่า ในขณะเดียวกันราคาของฮาร์ดดิสก์ 30 กิกะไบต์ ก็ถูกกว่าราคาของฮาร์ดดิสก์ 10 เมกะไบต์ ในเวลานั้นมาก

จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้ พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุอย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี และมีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้น

แนวโน้มความเร็วของการสื่อสารข้อมูล

หากพิจารณาแนวโน้มของขีดความสามารถในเรื่องความเร็วของการสื่อสารข้อมูล พบว่าความเร็วของการสื่อสารข้อมูลก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นกัน การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอีเธอร์เน็ตเริ่มมีใช้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2526 ส่วนรูปแบบการสื่อสารแบบโทเค็นริง ก็ได้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2527 จึงทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ความเร็วของการสื่อสารในเครือข่ายแลนที่ใช้เอทีเอ็มสวิตช์มีความเร็ว 155 ล้านบิตต่อวินาที และ 622 ล้านบิตต่อวินาที เรามีตัวกลางที่ใช้ในการนำสัญญาณที่เป็นเส้นใยนำแสง ทำให้ความเร็วในการสื่อสารเพิ่มได้อีกมากในอนาคต
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดการสารสนเทศมักมีเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องจึงมีการเรียกรวมกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)
การพัฒนาซีพียู

พัฒนาการคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้วทำให้การผลิตชิปที่เป็นซีพียูมีจำนวนทรานซิสเตอร์อยู่ในชิปได้มากมายหลายล้านตัว เช่น เพนเทียมโฟร์ มีจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิปมากกว่า 30 ล้านตัว ขนาดของทรานซิสเตอร์ภายในชิปมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.09 ไมโครเมตร (1 ไมโครเมตร เท่ากับ หนึ่งในล้านเมตร) แนวโน้มในส่วนนี้ยังคงทำให้วงจรซีพียูมีความซับซ้อนขึ้นได้อีก

การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มิได้อยู่ที่การเพิ่มความเร็วของจังหวะการคำนวณภายในชิปอย่างเดียวยังขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานที่เป็นแบบขนาน ซีพียูรุ่นใหม่ เช่น เพนเทียมโฟร์ ได้รับการพัฒนาให้ทำงานภายในเป็นแบบขนาน หมายความว่า ซีพียูอ่านคำสั่งหลายคำสั่งเข้าไปทำงานพร้อมกัน ภายในซีพียูเองก็มีหน่วยคำนวณและตรรกะหลายชุด การทำงานแบบขนานนี้ทำให้การทำงานโดยรวมสูงขึ้น

เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงมีผู้ออกแบบให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีซีพียูหลายตัวเพื่อช่วยกันทำงาน เรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์ (multiprocesser)

บางบริษัทได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบมัลติโพรเซสเซอร์โดยให้ซีพียูแต่ละตัวมีรูปแบบการคำนวณหรือการแบ่งแยกงานและทำงานขนานกันไป เรียกคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ว่า คอมพิวเตอร์แบบขนาน (Massively Parallel Processor : MPP)
เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง

เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้มีจำนวนซีพียูและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ จำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้นเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computer : HPC ) เครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้เหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมาก เช่น งานพยากรณ์อากาศงานจำลองระบบมลภาวะเกี่ยวกับน้ำท่วม หรือการจำลองสภาพจราจร เป็นต้น

ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เรียกว่าระบบคลัสเตอร์ (cluster) เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อสร้างฉากภาพยนตร์ในเรื่องไททานิก

การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อสร้างฉากภาพยนตร์ในเรื่องไททานิก

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

เทคโนโลยี (technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง
ลองจินตนาการว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเล เป็นสารประกอบของซิลิคอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้นมีบางคนสามารถแยกสกัดสาร ซิลิคอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิคอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูง สามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก

วงจรรวม

ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการจนได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศที่มีเทคโนโลยีมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่างๆ

สื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร

สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง เป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย

ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักร เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้เป็นจำนวนมาก สามารถคำนวณและค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถทำงานได้ตลอดวันและสามารถส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศมีหลายชนิด เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และ โทรสาร
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้างและระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน และการเรียนผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก เราจะได้พบกับสิ่งรอบๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศ ดังนี้

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป ในอดีตโลกมีกำเนิดมาประมาณ 4,600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ค่อยๆ พัฒนา และคาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้ว มนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา จนเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสื่อสารกันโดยการส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2489 ก็มีการส่งภาพทางโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น

ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

          ความก้าว หน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น เช่น การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตสินค้าและการให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง เทคโนโลยีทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อ สารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตสินค้าและการให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง เทคโนโลยีทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา

ไอซีที เผยแพร่แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 รองรับประชาคมอาเซียน

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

นางสาวอารีวรรณ ฮาวรังษี รักษาการที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT Masterplan 2015” ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นความท้าทายและโอกาสของประเทศ โดยประเด็นที่เห็นได้ชัดเจน คือ โอกาสจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การลดอุปสรรคทางการค้า และโอกาสในการลงทุน ด้วยจำนวนประชากรที่รวมกันกว่า 600 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการค้ารวม 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่และดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังมีประเทศพัฒนาหลายประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐฯ และรัสเซีย ให้ความสนใจภูมิภาคอาเซียน และเข้าร่วมเป็นคู่เจรจากับอาเซียน

นอกจากนี้ การเป็นประชาคมยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาค เช่น สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนเรื่องความท้าทายนั้น ยังมีหลายปัจจัยที่อาเซียนต้องคำนึงถึง เช่น ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก ผลกระทบทางลบจากการเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบการค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ ยาเสพติด การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย รวมถึงสร้างความรู้สึกร่วมของประชาชนให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเป็นประชากรของอาเซียน

ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องพร้อมรับกับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งในเชิงรุกที่จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียน และในเชิงรับที่ต้องปกป้องและแก้ไขผลกระทบในแง่ลบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยขณะนี้ กระทรวงไอซีที อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะครอบคลุมภารกิจต่างๆ ของกระทรวงฯ ทั้งด้านการพัฒนาไอซีที การเตือนภัยพิบัติ และความร่วมมือด้านสถิติ รวมทั้งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานความร่วมมืออาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียนด้วย

ด้าน นายอาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักกิจการระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมีการเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายในปี 2558 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ TELMIN ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 จึงได้เห็นชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT MASTERPLAN 2015 และอนุมัติการสนับสนุนเงินจากกองทุน ASEAN ICT Fund เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางกิจกรรมความร่วมมือด้านไอซีทีและสนับสนุนการรวมกลุ่ม ของอาเซียน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีที ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อร่วมพิจารณาจัดทำแผนแม่บทฯ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมีผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วมในคณะกรรมการดังกล่าว

หลังจากนั้นในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนมกราคม 2554 ที่ประชุมได้มีการรับรองแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 และมีการประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนแบบเบ็ดเสร็จที่มีการระบุยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน เป้าหมาย รวมทั้งระยะเวลาการดำเนินการภายใน 5 ปีที่ชัดเจน และภายหลังจากการรับรองแผนแม่บทฯ แล้ว ที่ประชุมอาเซียนยังได้เห็นชอบให้สมาชิกแต่ละประเทศจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แผนแม่บทฯ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา ได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการผลักดันแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ

กระทรวงฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 อย่างเป็นทางการขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนบทบาทของประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจประมาณ 250 คน นอกจากนั้น กระทรวงฯ ยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย มาร่วมให้ความรู้ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกด้วย

คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล (PC) ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

Published มีนาคม 12, 2012 by tomnaja

– เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80486 DX4-100 ขึ้นไป
– ขนาดหน่วยความจำหลัก 16 MB ขึ้นไป
– จอภาพเป็นแบบ VGA ขึ้นไป
– โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows 95 ขึ้นไป
– โปรแกรม Browser ใช้โปรแกรม IE (Internet Explorer) เวอร์ชั่น 5 ขึ้นไป
– ปรับความละเอียดของจอภาพ ให้มีความละเอียด เท่ากับ 800 x 600 pixels
– ปรับขนาดของตัวอักษรบนโปรแกรม Browser ให้มีขนาด Medium